บริการด้านอื่นๆ (Other visas) ดำเนินการขอวีซ่าให้ USA UK CANADA EUROPE (SHENGEN) AUSTRALIA NEW ZEALAND ASIAN เช่น
1. วีซ่าท่องเที่ยว กรอกวีซ่า online ทุกประเทศ
2. Permanent Residence OR วีซ่าถาวร
3. วีซ่าคู่หมั้น หรือ วีซ่าติดตามสามี หรือภรรยา หรือ ครอบครัว
4. จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ และเตรียมเอกสารต่างๆในการสมรส
5. ผู้ที่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ทั้งชั่วคราว และ ถาวร
6. WORK PERMIT , OTHER VISAs วีซ่าไปทำงาน กรอก online Poland, Russia
8. REGISTRATION FOR MARRIAGE WITH THAI PEOPLE
9. วีซ่าบุตรติดตาม บิดามารดา บริการครบวงจร รับแปลเอกคู่ที่ได้รับวีซ่าท่องเที่ยว และวีซ่าอื่น ๆ ทางเรายังมีบริการด้านอื่น ๆ ที่ท่านสามารถ จะเลือกใช้บริการได้ดังต่อไปนี้ การแปล ( Translation) เอกสารราชการ และ เอกสารทั่วไป ถ้าต้องการด่วนต้องคิดอัตราเรดต่างจากราคาปกติ ให้คำปรึกษา และ ดำเนินการทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการยื่นวีซ่าให้ ยกเว้นการสัมภาษณ์ ผู้ทำเรื่องต้องไปสัมภาษณ์เองเท่านั้น
เราคัดสมาชิกมาบางคนขึ้นไว้ในทำเนียบเราแล้ว
Nong Min in Uk on 5 May 2018 ยินดีด้วยนะค่ะที่ได้บินไปพักร้อนไกลถึงยุโรป
UK กฎหมายใหม่ของ Home Office ที่ออกมาประกาศเมื่อ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับเงื่อนไขของการขออยู่อาศัยอย่างถาวรและการขอสัญชาติที่ถูกปรับใหม่ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 Oct 2013 นี้ โดยปกติการขอสัญชาติบริติช ก่อนหน้านี้เพียงแค่ส่งใบสอบผ่านthe Life in the UK ก็จัดเป็นคุณสมบัติที่ทางการต้องการแล้ว
แต่จากวันที่ 28 ตุลาคมเป็นต้นไปนี้กฎหมายคนเข้าเมืองสำหรับผู้สมัครรับวีซ่าถาวรในยูเคและการขอสัญชาติจะต้องผ่านคุณสมบัติดังนี้
1. มีใบประกาศนียบัตรการสอบผ่าน the Life in the UK
2. มีใบสอบผ่านทักษะภาษาอังกฤษอย่างน้อยระดับ B1(intermediate level) on the Common European
Framework of Reference forlanguages (CEFR ระดับ B1 หรือสูงกว่า) หรือ วุฒิการศึกษาระดับเทียบเท่า
1. The Life in the UK test การสอบ The Life in the UKเป็นข้อสอบแบบ multiple choice ซึ่งสามารถไปสอบได้ที่ศูนย์สอบในเครือข่ายของโฮมออฟฟิศดำเนินการโดย learndirect โดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระบบการจองสอบ และสามารถลงทะเบียนขอจองสอบได้ตามปกติที่ http://lifeintheuktest.ukba.homeoffice.gov.uk/ ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2013 ที่ผ่านมา การสอบ The Life inthe UKเป็นการวัดผลความรู้จากหนังสือ Life in the United Kingdom: A Guide for NewResidents ซึ่งเป็นหนังสือปรับปรุงใหม่สำหรับการสอบ แต่สำหรับคนที่เคยสอบผ่านก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2013แล้ว ไม่จำเป็นต้องสอบใหม่แม้ว่าจะสมัครหลังวันที่28 ตุลาคม 2013 ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
2. คุณสมบัติทักษะด้านภาษาอังกฤษของผู้สมัคร
· ผู้สมัครต้องเข้าอบรมคอร์สเพื่อให้ผ่านการวัดผลทักษะภาษาอังกฤษการพูดและการฟังให้ผ่านอย่างน้อยในระดับB1 CEFR (the Common EuropeanFramework of Reference for languages ) แต่สำหรับคนที่เคยสอบผ่านภาษาอังกฤษระดับนี้แล้วอาทิ คนที่เคยสมัครวีซ่าเข้ามาแบบ Tier2 work permit ซึ่งได้สอบรับใบคุณสมบัติภาษาอังกฤษใบนี้ไปแล้วไม่จำเป็นต้องสอบอีก โดยผู้สมัครจากวันที่ 28 ตุลาคมนี้สามารถตรวจสอบศูนย์รับสอบภาษาอังกฤษthe Secure English Language Test (SELT) นี้ได้ที่ www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/applicationforms/new-approved-english-tests.pdf
นอกจากการสอบระดับB1 CEFR ภาษาอังกฤษให้ผ่านแล้วยังมีทางเลือกอื่นในการสอบอีกสองทางคือ
· การสอบผ่านคุณสมบัติการพูด Englishfor Speakers of Other Languages (ESOL) ในระดับ 3 และสอบผ่านระดับ 1 หรือ 2 ในการวัดผลการพูดและการฟัง โดยOffice of Qualifications and Examinations Regulation (Ofqual) ที่เป็นสถาบันจดทะเบียนถูกต้องในอังกฤษสามารถตรวจสอบรายชื่อ Ofqual ได้ที่ http://register.ofqual.gov.uk
· การสอบวัดผลที่สก๊อตแลนด์ ESOL at ScottishQualifications Framework (SCQF) ได้ในระดับ 4, 5 หรือ 6 จาก theScottish Qualifications Authority (SQA)
อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่ต้องสอบวัดระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษในการพูดและฟังคือ· บุคคลที่มาจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก(ที่ระบุไว้ในภาคผนวกA) เช่น จากประเทศอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น
· สำหรับบุคคลที่ได้รับปริญญาบัตรผ่านการศึกษาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ผู้ที่จบปริญญาในหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ
แต่บุคคลจากสองข้อยกเว้นข้างต้นยังคงต้องส่งใบผ่าน theLife in the UK เพื่อเป็นหลักฐานการวัดผลเกี่ยวกับความรู้ของชีวิตความเป็นอยู่ใน UK
นอกจากนี้แล้วยังมีกรณียกเว้นสำหรับบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีหรือ มากกว่า 65 ปีขึ้นไปและสำหรับผู้พิการหรือผู้ป่วยทางจิตที่ไม่สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ตามแบบบุคคลปกติ
เช่น การขอวีซ่าอยู่อาศัยสวีเดน(UT) นั้นมันไม่ยากอย่างที่คิด วีซ่า UT เป็นวีซ่าชั่วคราว 2 ปี (บางคนก็ได้ปีเดียว) พออยู่ครบสองปีก็ต้องต่อวีซ่าอีกครั้งเป็น วีซ่าถาวร(PUT) เราได้รวบรวมคำถาม เทคนิคการสัมภาษณ์ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ปัญหาที่พบ คำแนะนำในการแก้ปัญหาในขอวีซ่า UT และ วีซ่าพื่ออยู่อาศัยในสวีเดน Work and resident permit หรือในภาษาสวีเดนเรียกว่า Uppehålltillstånd ด้วยเหตุนี้เองวีซ่าสวีเดนประเภทนี้จึงมีชื่อย่อที่ว่า วีซ่า UT ภาษาไทยคือ วีซ่าทำงาน และ อยู่อาศัย
การที่จะขอวีซ่า หรือ applying วีซ่าให้ได้คำตอบที่ดีไม่โดนปฏเสธนั้น ทุกคนจะต้องตรวจเช็คและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และตรวจเอกสารให้พร้อมมากที่สุด
วิธีการขอวีซ่าเชงเก้น (Shengen Visa)
วีซ่าเชงเก้น (Shengen) เป็นวีซ่าสำหรับกลุ่มประเทศในโซนพวกยุโรป ที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวข้ามแดนไปได้เลย โดยที่ไม่จำเป็นต้องขอเข้าประเทศในทุกๆ ประเทศที่ไป ระหว่าง 26 ประเทศที่ต้องใช้วีซ่าเชงเก้นนี้ และจะไม่มีด่านตรวจวุ่นวายมากมาย จึงเกิดมีวีซ่าเชงเก้นนี้ขึ้นมา เหมาะกับคนที่วางแผนและแพลนจะเดินทางระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน และขอได้ ซึ่งยุโรปเป็นอีกดินแดนในฝันของนักท่องเที่ยว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักวีซ่าเชงเก้นกันก่อน ที่จะเตรียมตัวไปเที่ยวยังประเทศที่ต้องขอเชงเก้น เพื่อเตรียมพร้อมการท่องเที่ยวไปยุโรปของคุณ
และ ในปัจจุบันบ้างประเทศในกลุ่มของเชงเก้นจะมีการให้วีซ่ายาว โดยจะทำการพิจารณาจากคุณสมบัติหลายๆอย่างของผู้สมัครเป็นหลักส่วนใหญ่
Zone ที่เรียกว่า ประเทศกลุ่มของ เชงเก้น มีดังนี้นี้ Austria, Belgium, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Italy, Latvia, Lithuania, Luxembourg, Malta, Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Slovakia, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, Liechtenstein นอกจากนี้ถ้าหากคุณถือวีซ่าเชงเก้นแบบ Multiple ก็จะสามารถเข้าประเทศ Croatia รวมไปถึงประเทศในแถบบอลข่านได้ ไม่ว่าจะเป็น Macedonia , Bosnia , Albania หรือ Serbia ได้ด้วยนะ
วีซ่าเชงเก้นมีแบบไหนบ้าง
- วีซ่าแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน (วีซ่าประเภท A) พลเมืองจากประเทศนอกเขตเชงเก้นบางประเทศที่ต้องการเดินทางโดยเครื่องบินไปยังประเทศที่สาม และ ต้องการที่จะแวะเปลี่ยนเครื่ิองที่สนามบินในเขตเชงเก้น ก็จะต้องขอวีซ่าแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน
- วีซ่าเดินทางผ่านหรือทรานซิท (วีซ่าประเภท B) เป็นวีซ่าที่มีอายุไม่เกิน 5 วัน สำหรับผู้ที่ถือพาสสปอร์ต ที่ไม่ได้เป็น visa-free สำหรับประเทศปลายทาง (ที่ไม่ใช่เชงเก้น) กรณีที่เป็นคนไทย จะเดินทางไป สหรัฐอเมริกา ต้องมีวีซ่าอเมริกา กรณีนี้ หากจะแวะ”ผ่าน” ยุโรป สามารถขอวีซ่าประเภทนี้ได้ แต่ได้ไม่เกินครั้งละ 5 วันเท่านั้น
- วีซ่าพำนักระยะสั้น (วีซ่าประเภท C) วีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับการเดินทาง 1 ครั้ง 2 ครั้งหรือหลายครั้ง โดยมีระยะเวลาที่อนุญาตให้พำนักแตกต่างกันออกไป วีซ่าประเภทนี้ผู้เดินทางไม่สามารถอยู่ใน EU ได้เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลารวมทั้งหมด 6 เดือน
- 4. วีซ่าเข้าได้แค่ประเทศที่ขอ (วีซ่าประเภท D) วีซ่าประเภทนี้ ใช้เข้าได้เฉพาะประเทศที่ขอเข้าไปเท่านั้น เช่น ขอที่สถานฑูตเบลเยี่ยม วีซ่านักเรียน สถานทูตจะออกวิซ่า type D ให้ คือต้องเข้าเฉพาะเบลเยี่ยม และห้ามออกไปประเทศอื่น จนกว่าจะไปทำเรื่องขอ ID นักเรียนที่เบลเยี่ยมซะก่อน (คือมาถึงที่เบลเยี่ยมแล้ว ให้รีบไปทำเรื่องเลย) พอได้ ID นี้แล้วถึงสามารถเดินทางไปประเทศในกลุ่มเชงเก้นประเทศอื่นได้
วีซ่าเชงเก้น มีอายุเท่าไหร่ วีซ่าเช็งเก้น มีอายุเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับรายการท่องเที่ยว (ตาราง) ที่คุณจะเดินทาง เช่น คุณเดินทางไปยุโรป 15 วัน ก็ได้ วีซ่าเชงเก้น 15 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานทูตเจ้าหน้าที่
เราเลือกขอวีซ่าเชงเก้นได้อย่างไร
- กรณีที่มีประเทศที่เดินทางนานกว่าประเทศอื่นๆ 1 ประเทศ เช่นคุณไปเที่ยวฝรั่งเศส 5 วัน เยอรมัน 4 วัน สวิตเซอร์แลนด์ 4 วัน ให้เริ่มขอที่ฝรั่งเศสเพราะอยู่นานที่สุด
- กรณีที่เดินทางเฉลี่ยเท่ากันทุกประเทศ ให้เริ่มต้นขอที่ประเทศที่เข้าเป็นประเทศแรก
การขอวีซ่าเชงเก้น ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนว่า เราจะไปยื่นขอวีซ่าเชงเก้นที่สถานทูตประเทศไหน สำหรับเอกสารในการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น ทั้งแบบ Single Entry (เข้าออกครั้งเดียว) หรือ Multiple Entry (เข้าออกหลายครั้ง) จะไม่ต่างกัน
- แบบฟอร์มคำร้องในการยื่นขอวีซ่า คุณสามารถโหลดแบบฟอร์มออกจากเว็ป หรือกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์แล้วปรินท์ออกมา ส่วนนี้ต้องเช็คให้ดีข้อมูลต้องถูกต้องครบถ้วน ซึ่งการขอวีซ่าเชงเก้นในแต่ละประเทศ ก็มีแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน
- หนังสือเดินทาง (Passport) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินทางเลยก็ว่าได้ และที่สำคัญต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับกันไปจนถึงวันที่ออกจากประเทศเชงเก้นเลย
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เตรียมเอาไว้สำรอง หากทางการต้องเรียกใช้เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลา
- รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว แจ้งทางร้านถ่ายรูปไปได้เลย ว่าจะขอวีซ่าเชงเก้น สิ่งสำคัญคือรูปสุภาพ หน้าตรง พื้นหลังขาว และเห็นใบหน้าชัดเจน นอกจากนี้เช็คให้ครบถ้วนก่อนว่าประเทศที่เราจะขอวีซ่าเชงเก้นนั้น มีกฎละเอียดมากน้อยแค่ไหน และควรถ่ายภาพไม่เกิน 6 เดือน
- ประกันการเดินทาง เป็นสิ่งคุณจำเป็นต้องซื้อ โดยตอนซื้อต้องระบุประเทศให้ครอบคลุมทั้งหมด รวมไปถึงระยะเวลาตั้งแต่วันบินไป – กลับ และต้องมีวงเงินประกันที่คุ้มครองทั้งค่าพยาบาล หรือประกันอื่นๆ ไม่น้อยไปกว่า 1,500,000 บาท หรือ 30,000 ยูโร โดยเราสามารถเช็คกับทางประกันได้ว่ามีประกันเจ้าไหนบ้าง ที่ทางสถานทูตรับรองวีซ่าเชงเก้น
- 6. ตั๋วเครื่องบิน เป็นอีกเอกสารจำเป็น ที่เราต้องนำไปยื่นในการขอวีซ่าเชงเก้น แต่คุณสามารถติดต่อเอเจนซี่ให้ออกตั๋วเป็นเอกสารมาก่อนได้ ถ้าวีซ่าผ่านเราก็จะมาซื้อตั๋วที่นี่ ถ้าหากวีซ่าไม่ผ่านก็สามารถยกเลิกตั๋วได้
- ใบจองที่พัก การจองที่พัก หากมีเทคนิคดีๆ แล้ววีซ่าไม่ผ่าน คุณจะได้ไม่ต้องเสียค่าที่พักไปฟรีๆ โดยค้นหาที่พัก แบบยกเลิกได้ฟรี หรือถ้าหากคืนไหนคุณต้องนอนบนรถไฟ ก็ต้องระบุไปด้วยว่านอนบนเรือ บนรถ เป็นต้น ห้ามใช้คำว่า walk in ในการท่องเที่ยวในยุโรปเด็ดขาด
- 8. แผนการเดินทางฉบับย่อ สรุปแผนการเดินทางทั้งหมด เช่นวันที่นี้ อยู่เมืองนี้ และไปเมืองนี้ ข้ามไปประเทศต่อไปอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ ใส่ชื่อโรงแรม และรถต่างๆ ในการเดินทางลงไปด้วย และที่สำคัญ ถ้าหากเค้าถามแพลนในการท่องเที่ยว ต้องตอบแพลนให้ได้ด้วย
- เอกสารรับรองการทำงาน หากคุณเป็นพนักงานกินเงินเดือน ต้องให้บริษัทออกจดหมายรับรองให้ โดยต้องระบุ ตำแหน่ง วันที่เริ่มงาน เงินเดือน ช่วงเวลาที่อนุมัติให้ลา แลแต่ทางที่ดีขอให้ทางธนาคารออกให้เพื่อไปขอวีซ่า ซึ่งบัญชีนี้ควรจะมีเงินหมุนเวียนเข้าออกตลอด ทั้งยอดเงินฝาก และเงินถอนออก คือถ้ารู้ว่าจะไปเมื่อไหร่ แนะนำว่าควรเริ่มบริหาร Statement ให้ดูสวยงาม โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยได้เดินทาง หรือขอเชงเก้นเป็นครั้งแรก
- ะต้องครอบคลุมวันที่เราจะเดินทาง จนกระทั่งวันที่กลับมา .. พร้อมลายเซ็น และประทับตาบริษัท ซึ่งจดหมายควรจะเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของกิจการ ก็ต้องมีหนังสือจดทะเบียนบริษัทเป็นชื่อเรามาเป็นหลักฐาน ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ จะเป็นตัวยืนยันว่าคุณจะไม่ไปอยู่ในประเทศเค้าแล้วไม่กลับมาเมืองไทยนั่นเอง
- 10. เอกสารรับรองทางการเงิน เอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องยื่น ให้เมื่อขอวีซ่าเชงเก้น เมื่อคุณเตรียมตัวจะเดินทางไปท่องเที่ยวยุโรป
Statement ย้อนหลัง 6 เดือน สำเนาบัญชีเงินฝากเข้าออกย้อนหลังไป 6 เดือน อาจจะปริ้นจากอินเตอร์เนทได้
จดหมายรับรองทางการเงินจากธนาคาร เป็นจดหมายรับรองจากทางธนาคาร ว่าเราเปิดบัญชีกับธนาคารนี้ และมียอดเงินหมุนเวียน แจ้งทางธนาคารได้เลยว่าใช้เพื่อขอวีซ่าเชงเก้น
เตรียมตัวก่อนไปยื่นวีซ่าเชงเก้น วัน และ เวลาในการยื่นขอวีซ่า เช็ควันที่ เวลากับประเทศที่เราจะยื่นวีซ่าให้ดี ว่าต้องเป็นแบบจองล่วงหน้า หรือว่าสามารถไปต่อคิวหน้างานได้เลย
สถานที่ยื่นขอวีซ่า เช็คให้ดีว่าประเทศที่เรายื่นนั้น ต้องผ่านตัวกลาง หรือไปยื่นที่สถานทูตโดยตรง เพราะแต่ละประเทศจะมีกฎต่างกัน
เวลาที่ใช้พิจารณา ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 15 วันทำการ อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ และสถานทูตค่าธรรมเนียม โดยส่วนมากค่าธรรมเนียมวีซ่าเชงเก้น จะอยู่ที่ประมาณ 60 ยูโรจำนวนวันที่ได้วีซ่า โดยส่วนมากถ้าไม่ได้แบบ Multiple ก็จะได้เท่าจำนวนวันที่ขอ หรือแล้วแต่สถานทูตพิจารณาหากคุณเตรียมเอกสารให้พร้อม กรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน ก็ไม่ต้องกลัวว่าวีซ่าจะไม่ผ่าน หากใครแพลนกำลังจะไปเที่ยวยุโรปแนะนำว่าเตรียมตัวล่วงหน้าเอาไว้ให้
ประเภทของหนังสือเดินทาง (Passport)
● หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูตและข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศเท่านั้น ตัวเล่มจะมีสีแดงสด
● หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการ สำหรับเดินทางไปราชการนั้นๆ ตัวเล่มจะเป็นเล่มสีน้ำเงิน
● หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐ และข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัว หรือไปฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ จะเป็นเล่มสีน้ำตาล
● หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงานของรัฐ ก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศแบบส่วนตัว เช่นเพื่อการท่องเที่ยวเป็นต้น ตัวเล่มจะเป็นสีเลือดหมู
ทํา passport ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20 ปีขึ้นไป จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังต่อไปนี้
● บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
● ในกรณีที่เคยมีการเปลี่ยนชื่อ หรือวันเดือนปีเกิด ซึ่งข้อมูลไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ
สำหรับค่าธรรมเนียมในการทำ Passport เล่มใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
เอกสารที่ต้องเตรียม กรณีที่ผู้ยื่นขออายุต่ำกว่า 15 ปี
● สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นฉบับสำเนาก็ต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ
● บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทยของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง และหากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดา ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
● ในกรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
● หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา ในกรณีที่บิดา/มารดา หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ ในวันทำ Passport
● เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น
● ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต, กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส, กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้, กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตร อยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย
เอกสารที่ต้องเตรียม กรณีที่ผู้ยื่นขออายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
กรณีหากเป็นผู้เยาว์ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
● บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
● หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
● เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น